วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บั้งไฟพญานาค


ทุกวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จะเกิดปราฏการณ์ "บั้งไฟพญานาค" หรือ บั้งไฟผี ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

บั้งไฟพญานาค เกิดจากก๊าซร้อน คือ ก๊าซที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทน และก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนผสมสำคัญ เมื่อเจอกับความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายก็จะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน โดยเหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง เมื่อไปกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ ที่มีพลังงานสูง ก็จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ 95% จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วก็หายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตร



แล้ว "ทำไม?ต้องเป็นวันนี้" คำตอบจากผู้สันทัดกรณี นพ.มนัส กนกศิลป์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ผู้ซึ่งลงพื้นที่ทุ่มเท แรงกาย แรงใจ ในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยถึงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาตินี้มามากกว่า 14 ปีให้เหตุผลสั้นๆ ว่า

"ในคืนวันออกพรรษาจะมีออกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก"



เมื่อ "โลกร้อน" จะกระทบไหม?ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ บอกว่า การเกิด "บั้งไฟพญานาค" ไม่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน หรือแม้แต่การเคลื่อนตัวเข้ามาของพายุกิสนาที่ไทยกำลังประสบอยู่ หากแต่เป็นเรื่องดีเสียอีก เพราะการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะช่วยให้การเกิดบั้งไฟพญานาคดีขึ้น เนื่องจากความชื้นสัมผัสในอากาศจะสูง จะทำให้ติดไฟดี จากการคาดการณ์ปีนี้ จำนวนลูกไฟ ไม่น่าจะลดน้อยลง ส่วน สิ่งที่จะกระทบต่อการเกิดบั้งไฟพญานาคมีเพียงปัจจัยเดียว คือ ระดับน้ำในแม่น้ำเท่านั้น

โลโก้"บั้งไฟ" ถูกย้ายที่ นพ.มนัส ผู้เป็นเสมือนโลโก้บั้งไฟพญานาค กล่าวว่า ปีนี้อาจจะไม่ได้เดินทางไปดูที่ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เนื่องจากถูกย้ายมาอยู่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี คาดว่าจะดูอยู่ที่นี้ ที่ อ.โขงเจียม ซึ่งได้มีการพูดคุยกับทางจังหวัด ให้จัดทีมลงตรวจสอบพื้นที่ เรือลาดตระเวน จัดทำแผนที่ ว่ามีจุดใดบ้างที่สามารถดูบั้งไฟได้ เพื่อวางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับจังหวัด ซึ่งใน อ. โขงเจียม มีจุดชม 3 แห่ง ที่บ้านกุ่ม บ้านท่าล้ง และบ้านตามุย

"สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันว่า ไม่รู้เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบั้งไฟพญานาคหรือเปล่าถึงถูกย้ายมาประจำที่นี้" นพ.มนัสกล่าวท้ิงท้ายอย่างอารมณ์ดี



ร่องรอยที่เชื่อว่าเป็น "พญานาค" นายยอดยิ่ง ราชตั้งใจ ศิลปินดีเด่นจังหวัดหนองคาย ประธานชมรมนาฏศิลป์ เล่าว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ ก่อนถึงวันออกพรรษา หลังจากที่ครูโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร เสร็จจากเผาโครงกระดูกอาจารย์ใหญ่ ซึ่งอยู่ภายในห้องศิลปะมีไว้ให้นักเรียนวาดเป็นแบบที่วัดข้างๆ โรงเรียน เมื่อเดินทางกลับพบร่องรอยคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น ร่องรอยพญานาค ปรากฏขึ้นที่บริเวณฝากระโปรงรถ 4 คันรวด



"บั้งไฟ" ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำโขงศิลปินดีเด่นจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า จากสถิติ 2-3ปีที่ผ่านมา พบว่าปริมาณบั้งไฟมีจำนวนที่น้อยลง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณลดลง ปัจจัยหนึ่งมาจากการสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากแม่น้ำโขงฝั่งประเทศลาว ข้อดีคือ น้ำไม่ท่วมพื้นที่ของเกษตร แต่ข้อเสียคือ ปริมาณบั้งไฟจะลดน้อยลง ซึ่งในปีนี้ก็คาดว่าจะมีปริมาณไม่มาก

"หนองคาย" พร้อมต้อนรับ นายยอดยิ่ง เชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ มาชมปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ 1 ปี จะมีเพียงหนเดียว โดยจังหวัดได้เตรียมพร้อมต้อนรับแขกที่จะเที่ยวชม ตามนโยบายของผู้ว่าฯ "ชาวบ้านที่ดี" โดยในส่วนของตำรวจได้มีการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ทางเทศบาลจัดเตรียมความบันเทิง นอกจากนี้ ทางจังหวัดได้เตรียมที่พักไว้ให้บริการ โดยทางอาสารักษาดินแดน ได้จัดเตรียมเต็นท์ ไว้ที่บริเวณหน้าศาลากลางให้บริการในคืนวันที่ 3-4 ต.ค. เพื่อรองรับนัก ท่องเที่ยวที่ไม่มีที่พัก สามารถมาใช้บริการได้ฟรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น