วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ร้านอาหาร ..แนะนำ

รายการร้านอาหาร

พาโนรามา
พาโนรามา
ที่อยู่ : 423 ถนนริมโขง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 08 9186 2121, 0 4241 1568


ครัวสุขสันต์
ครัวสุขสันต์
ที่อยู่ : 1164 ถนนประจักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1585, 0 4241 1797


ระเบียงแม่โขง
ดานัง หมูกะทะ
ที่อยู่ : ถนน ริมโขง ซอย โพธิ์ศรี 5 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 81 8721691 ,0 81 8724323


แพสองฝั่งโขง
แพสองฝั่งโขง
ที่อยู่ : ถนนแก้ววรวุฒิ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4242 0418


โบ้ท
โบ้ท
ที่อยู่ : ถนนริมโขง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 2512


ดีดีโภชนา
ดีดีโภชนา
ที่อยู่ : 1155/9 หมู่ 4 ถนนประจักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1548


อุดมรส
อุดมรส
ที่อยู่ : 423 ถนนริมโขง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1568


อิ่มเอมโภชนา
อิ่มเอมโภชนา
ที่อยู่ : 1255/3 ซอยวัดนาค (ใกล้โรงแรมพงษ์วิจิตร ข้างวัดศรีสะเกษ) ถนนบรรเทิงจิต อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1608


หลังจวน
หลังจวน
ที่อยู่ : 1156/3 ถนนหายโศก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 2558


หนองคายโภชนา
หนองคายโภชนา
ที่อยู่ : 387/6 ถนนบรรเทิงจิต ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1645


สองฝั่งโขง
สองฝั่งโขง
ที่อยู่ : 226 หมู่ 2 ถนนแก้ววรวุฒิ ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4242 0418


รายการร้านอาหาร
เรือนริมน้ำ
เรือนริมน้ำ
ที่อยู่ : 10 ถนนแก้ววรวุฒิ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4246 5212


เรือนแพหายโศก
เรือนแพหายโศก
ที่อยู่ : 816 ถนนริมโขง บริเวณวัดหายโศก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 2211


แม่โขงซันไชน์
แม่โขงซันไชน์
ที่อยู่ : 367/1 หมู่ 16 ถนนริมโขง ใกล้พระธาตุกลางน้ำ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4246 2112


เพ็ญโภชนา
เพ็ญโภชนา
ที่อยู่ : 1164 ถนนประจักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1297


พรรณทวี
พรรณทวี
ที่อยู่ : ในโรงแรมพรรณทวี ถนนหายโศก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย



นิวปัญญา
นิวปัญญา
ที่อยู่ : 215 ถนนริมโขง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1146


ทุ่งนาอ่าง
ทุ่งนาอ่าง
ที่อยู่ : 90 ถนนหนองคาย-โพนพิสัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4246 2053


ทิพรส
ทิพรส
ที่อยู่ : 1069 ถนนมีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1584


ทานตะวัน
ทานตะวัน
ที่อยู่ : 057/1 ถนนประจักษ์ ใกล้โรงเรียนสว่างวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1235, 0 4246 0349


ท่าด่าน
ท่าด่าน
ที่อยู่ : ถนนริมโขง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1257


แดงแหนมเนือง
แดงแหนมเนือง
ที่อยู่ : 526-527 ถนนริมโขง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ : 0 4241 1961, 0 4242 1202






วัดหินหมากเป้ง(หลวงปู่เทศน์ เทศรังสี)


หลังจากนี้ไปราว ..๒๔๗๖ ที่ซึ่งเป็นวัดหินหมากเป้งในขณะนี้เป็นป่าทึบรกมาก กอปรด้วยเชื้อมาลาเรีย ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ร้ายต่างๆ มีเสือ หมี เป็นต้น แล้วก็เป็นท่าข้ามของเขาเหล่านั้นในระหว่าง ประเทศ คือ ประเทศไทยและประเทศลาวอีกด้วย เพราะที่นี้ห่างจากคนสัญจรไปมา จะมีก็พวกพรานป่ามาหาดักยิงสัตว์กินเท่านั้น อนึ่ง คนแถบนี้รู้จักหินหมากเป้งในนามว่าผีดุมาก พระธุดงค์ที่ต้องการทดสอบความกล้าหาญของตนแล้ว จะต้องมาภาวนา ที่นี้ ผู้ที่ได้มาทดสอบความกล้าหาญในที่นี้แล้ว ย่อมเชื่อตนเองได้ ทั้งเพื่อนพรหมจรรย์ก็ยกยอว่าเป็นผู้ที่กล้าหาญเชื่อถือได้ เนื่องจากเขาถือว่าผีดุนั่นเอง ต้นไม้ใหญ่ป่าดงจึงยังเหลือไว้ให้พวกเราได้เห็นดังปรากฏอยู่ บัดนี้ นอกจากจะเป็นท่าข้ามของเหล่า

สัตว์ร้ายดังกล่าวแล้ว ยังเป็นท่าข้ามของพวกมิจฉาชีพ ขนของหนีภาษีมีฝิ่นเถื่อน เป็นต้น สัตว์พาหนะมีวัวควายเป็นต้นไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้ ถ้ามันหาย สงสัยว่าคนขโมยแล้ว ทั้งเจ้าของและเจ้าหน้าที่จุดแรกจะต้องมาดักจับเอาตรงนี้เอง ถ้าไม่เจอะแล้วก็หมดหวัง

หินหมากเป้งเป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า คนพื้นนี้เขาเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย คำว่าหมากเป้งเป็นภาษาภาคนี้ ผลไม้หรืออะไรก็ตาม ถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียกหมากขึ้นหน้า เช่น หมากม่วง หมากพร้าว เป็นต้น มีคนเฒ่าคนเก่าเล่าปรัมปราสืบกันมาว่า หินหมากเป้งก้อนบน (เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบางก้อนกลางเป็นของบางกอก ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์ ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้างให้เจริญ คำนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ไว้มิได้บอกเป็นแต่เล่าสืบๆ กันมาเท่านั้น แต่มีเค้า น่าจะมีผู้มีญาณพยากรณ์ไว้แน่เพราะสถานที่นี้เป็นวัตถุโบราณอันส่อแสดงว่าคงจะเป็นสถานที่สำคัญสักอย่างหนึ่ง ดังที่ปรากฏอยู่ คือ ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ที่ใดๆ แลไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลย เรื่องสามกษัตริย์จะมาสร้างหินหมากเป้งให้เจริญ ผู้เขียนเมื่อยังเด็กอยู่ได้ฟังแล้วยิ้มในใจไม่ยักเชื่อเ

ลย นึกว่าป่าดงดิบแท้ๆ ผีดุจะตายแล้วใครจะมาสร้าง สร้างแล้วใครจะมาอยู่เล่า แล้วเรื่องนั้นมันก็ลืมเลือนหายไปนานจนไม่มีใครกล่าวถึงอีกแล้ว เพราะเห็นว่าไร้สาระแล้วจู่ ผู้เขียนซึ่งไม่เชื่อคำพยากรณ์นั้นเองได้มาอยู่และมาสร้างเสียเอง จึงระลึกขึ้นมาได้ว่า อ๋อความจริงมันหนีความจริงไม่พ้น ถึงใครจะไม่พูดถึงมันก็ตามเมื่อถึงเวลาของมันแล้วความจริงมันจะปรากฏขึ้นมาเอง

.. ๒๔๔๑ พระอาจารย์หล้าได้มาจำพรรษา ที่นี้เป็นองค์แรก แต่ท่านก็มิได้สร้างเป็นวัดทำเป็นกระต๊อบเล็กๆ อยู่อย่างพระธุดงค์ธรรมดาๆ ท่านองค์นี้เป็นลูกคนบ้านห้วยหัดนี้เอง ท่านเคยมีครอบครัว ได้ลูกชายคนหนึ่งแล้ว ภรรยาของท่านตายท่านจึงได้ออกบวชอายุของท่านราว ๔๐ ปี โดยเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์วัดโพธิสมภรณ์เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชเวทีเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านไม่รู้หนังสือ เมื่อมาภาวนากัมมัฏฐาน ตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่าน ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียรมากสนใจในกิจการทั่วไป เมื่อตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่านเป็นที่อัศจรรย์ ท่านยิ่งสนใจมาก ท่านพยายามประสมและอ่านผิดบ้างถูกบ้างทีแรก นานเข้าจนอ่านหนังสือที่มีเนื้อความเป็นธรรมได้ นอกนั้นอ่านไม่ได้ ผลที่สุดด้วยความพยายามของท่านอ่านหนังสือทั่วๆ ไปได้หมด เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยแต่ท่านพระอาจารย์หล้าได้เป็นไปแล้ว ตอนหลังๆ ท่านเป็นเจ้าตำราสั่งให้เขาซื้อหนังสือใหญ่ๆ เช่น หนังสือพระวิสุทธิมัคค์-ปุพพสิกขา-มหาขันธกวินัยมาไว้เป็นสมบัติของท่านเลย

ท่านชอบเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่ตามแถบแถวภูพานนี้โดยมาก ชาวบ้านแถวที่ท่านเที่ยวไปยอมเคารพนับถือท่านมาก ถ้าบ้านใดเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเขาถือว่าผีมาอาละวาด เขาจะต้องไปนิมนต์ให้ท่านไปขับผีให้ ความจริงมิใช่ท่านไปขับผี แต่ท่านไปโปรดเขาพร้อมทั้งชาวบ้านด้วย เมื่อท่านไปถึงทีแรก ท่านจะต้องหาที่พักซึ่งเขาถือว่าเป็นที่อยู่ของผี แล้วท่านจะต้องนั่งกำหนดภายในให้รู้ว่าผีตัวนี้มีชื่อว่าอย่างไร ทำไมจึงต้องมาอยู่ ที่นี้ และได้ทำให้ชาวบ้านเขาเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะเหตุใด เมื่อท่านทราบแล้วท่านจะต้องกำหนดหาบทภาวนา เพื่อให้ผีตนนั้นมีจิตใจอ่อนน้อมยอมเมตตาเป็นมิตรกับชาวบ้านเหล่านั้น แล้วท่านจะเรียกชาวบ้านเหล่านั้นมาสอนให้เขาตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย ต่อไปก็ให้มีการปฏิบัติทำวัตรไหว้พระเช้าเย็นเป็นประจำอย่าได้ขาด แล้วตอนท้ายก็สอนให้เขาภาวนาบทที่ท่านเลือกได้นั้น นอกนี้ก็สอนให้เขาเหล่านั้น งดเว้นจากการสาปแช่งด่า และพูดคำหยาบคายต่างๆ ห้ามลัก ฉ้อโกงขโมยของกันและกัน ให้เว้นจากมิจฉาจารและให้งดจากการดื่มสุรา และยังมิให้รับประทานลาบเนื้อดิบอีกด้วย เมื่อท่านไปสอนที่ไหนได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ทุกแห่งไป แม้ที่เป็นหนองหรือเป็นน้ำซับทำเลดีๆ ซึ่งเขาถือว่าผีดุ เมื่อปฏิบัติตามท่านสอนแล้ว เขาไปจับจองเอาที่เหล่านั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ทำมาหากินจนตั้งตัวได้ก็มากราย ที่อธิบายมานี้เพื่อให้เห็นอัจฉริยนิสัยของท่าน ซึ่งไม่น่าจะเป็นแต่มันก็เป็นไปแล้ว ท่านเพิ่งมามรณภาพที่บ้านนาเก็นเมื่อ ..๒๕๑๐ นี้เอง อายุของท่านได้ ๘๒ ปี พรรษา ๔๒ การมรณภาพของท่านก็พิสดาร คือ ท่านป่วยมีอาการเล็กน้อย เย็นวันนั้นท่านออกเดินไปตามริมชายวัดเห็นต้นไม้แดงตายยืนอยู่ต้นหนึ่ง ท่านบอกว่าฉันตายแล้วให้เอาไม้ต้นนี้นะเผาฉัน แล้วก็อย่าเอาไว้ล่วงวันล่วงคืนด้วย ตกกลางคืนมาราว ๒ ทุ่มท่านเริ่มจับไข้ อาการไข้เริ่มทวีขึ้นโดยลำดับ ตีหนึ่งเลยมรณภาพ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสก็ทำตามท่านสั่งทุกอย่าง ที่นำเอาประวัติของท่านพระอาจารย์หล้ามาเล่าโดยย่อนี้ ก็เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำมาเป็นคติ และท่านเป็นคนแรกที่เริ่มสร้างวัดนี้ ต่อจากนี้ก็มีพระเส็ง-พระคำจันทร์-พระอุทัย-และพระคำพันเป็นคนสุดท้าย

เมื่อ ..๒๕๐๗ ข้าพเจ้าได้จำพรรษาที่ถ้ำขาม ออกพรรษาแล้ว ได้วิเวกมาพักอยู่ด้วยพระคำพัน เห็นว่าที่นี้วิเวกดีพร้อมด้วยดินฟ้าอากาศก็ถูกกับโรค รู้สึกว่าได้รับความสบายดี จึงได้จำพรรษาอยู่ด้วยพระคำพัน บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบว่าข้าพเจ้ามาอยู่ ที่นี้ ต่างก็พากันลงเรือมาเยี่ยม เพราะเวลานั้นทางรถยังไม่มี เมื่อพากันมาเห็นสถานที่เป็นที่สัปปายะ อากาศก็ดี วิเวกน่าอยู่ วิวก็สวยงาม แต่เสนาสนะที่อยู่อาศัยยังไม่น่าอยู่ ต่างก็พากันหาทุนมาช่วยบูรณะก่อสร้างจนสำเร็จเป็นวัดที่ถาวร ดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่ บัดนี้แล้ว

วัดหินหมากเป้งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ณ วันที่ ๒๖ ๘๒ ปี พรรษา ๔๒ การมรณภาพของท่านก็พิสดาร คือ ท่านป่วยมีอาการเล็กน้อย เย็นวันนั้นท่านออกเดินไปตามริมชายวัดเห็นต้นไม้แดงตายยืนอยู่ต้นหนึ่ง ท่านบอกว่าฉันตายแล้วให้เอาไม้ต้นนี้นะเผาฉัน แล้วก็อย่าเอาไว้ล่วงวันล่วงคืนด้วย ตกกลางคืนมาราว ๒ ทุ่มท่านเริ่มจับไข้ อาการไข้เริ่มทวีขึ้นโดยลำดับ ตีหนึ่งเลยมรณภาพ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสก็ทำตามท่านสั่งทุกอย่าง ที่นำเอาประวัติของท่านพระอาจารย์หล้ามาเล่าโดยย่อนี้ ก็เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำมาเป็นคติ และท่านเป็นคนแรกที่เริ่มสร้างวัดนี้ ต่อจากนี้ก็มีพระเส็ง-พระคำจันทร์-พระอุทัย-และพระคำพันเป็นคนสุดท้าย

เมื่อ ..๒๕๐๗ ข้าพเจ้าได้จำพรรษาที่ถ้ำขาม ออกพรรษาแล้ว ได้วิเวกมาพักอยู่ด้วยพระคำพัน เห็นว่าที่นี้วิเวกดีพร้อมด้วยดินฟ้าอากาศก็ถูกกับโรค รู้สึกว่าได้รับความสบายดี จึงได้จำพรรษาอยู่ด้วยพระคำพัน บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบว่าข้าพเจ้ามาอยู่

ที่พัก...แนะนำ


หนองคายรีสอร์ทยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่งที่หนองคายรีสอร์ทผสมผสานระหว่างเมืองกับธรรมชาติได้อย่างลงตัวบ้านพักสไตส์บาหลีในห้องตกแต่งอย่าง สวยงาม ละสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทีวี ตู้เย็น น้ำอุ่น สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกาย เรามี สระว่ายน้ำไว้คอยบริการท่านและครอบครัว.....สถานที่พักเยื้องกับสถานีรถไฟหนองคายการเดินทางสะดวกสบายหนองคายรีสอร์ท
เป็นรีสอร์ทที่สร้างใหม่ตกแต่งและสร้างสรรค์จากภูมิทัศน์ของเมืองกับธรรมชาติอย่างแท้จริง พิเศษ

เรามีอินเตอร์เนตความเร็วสูงไว้บริการพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงระบบไฟฟ้าสำรอง : ที่จะทำให้คุณอุ่นใจได้ตลอดการพักผ่อนที่แสนมีค่าเชิญท่านสัมผัส การบริการที่แสนประทับใจ กับห้องพักสุดหรูสไตล์บาหลี พร้อมรับประทานอาหารเช้า ดื่มด่ำกับบรรยากาศของเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก หนองคายรีสอร์ทคืออีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาวหนองคายโดยแท้จริง



สถานที่ตั้ง : 202 หมู่ที่ 4 ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000 (ตรงข้ามสถานีรถไฟแห่งใหม่) โทร. 0-4246-4958-9

วัด ศาลาแก้วกู่(วัดแขก)

จังหวัดหนองคาย (สำนักพุทธมามกสมาคม จังหวัดหนองคาย) แหล่งท่องเที่ยว ห่างจากตัวเมืองหนองคายเพียง 3 กม. ด้วยความอลังการ งานสร้างด้วยความศรัทธา ยิ่งใหญ่*** ศาลาแก้วกู่ สร้างโดยปรารถนาให้ที่แห่งนี้เป็น เมืองอมตะแก้วกู่มหานิพพาน หรือดินแดน
แห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เชื่อว่า ทุกศาสนาผสมผสานกันได้ ...ตั้งอยู่ ชุมชนสามัคคี อ.เมือง จ.หนองคาย ในพื้นที่ 42 ไร่ รูปปั้น ทั้งเล็กใหญ่แล้วว่ากันว่ามีไม่น้อยกว่าหลักพัน *** ศาลาแก้วกู่สร้างขึ้นโดย “ปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์” หรือ “ปู่เหลือ” ( พ.ศ. 2476 – 2539 ) ซึ่งมีประวัติชีวิตและผลงานอัศจรรย์ โดยย่อ ดังนี้ นางคำปลิว สุรีรัตน์ (พี่สาวคนโตของปู่เหลือ) ชาวหนองคาย แต่งงานได้ระยะหนึ่ง ฝันว่ามีชีปะขาวนำ นาคมรกตมามอบให้ แต่บอกว่าอีก 7 เดือนค่อยไปรับมาเป็นของตน ต่อมาแม่ตั้งท้องลูกคนที่เจ็ด ในวัยสูงอายุและหมดประจำเดือนแล้ว และคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน ทุกคนจึงเชื่อว่าเป็นไปตามนิมิตในฝัน นางคำปลิวและสามี จึงรับน้องชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่แรกเกิด....ด.ช.บุญเหลือชอบเข้าวัดมาแต่เด็ก พออายุได้หกขวบนางคำปลิวเสียชีวิตลง สามีนางคำปลิวมีภรรยาใหม่ ด.ช.บุญเหลือจึงกลับไป
อยู่กับ พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด แต่มักขัดขวางห้ามปรามผู้ใหญ่ในทางบาปต่างๆ จึงไม่เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง ครั้นอายุ 12 ปี ทนความกดดัน รอบข้างไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านรอนแรม ไปจนพบสำนักอาศรมแก้วกู่ในเขตแดนลาว และได้ฝากตัวศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมอยู่กับ พรมุนีที่นั่น จนอายุครบ 20 ปี พระมุนีจึงให้ออกจากสำนัก ไปจาริกแสวงบุญโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล เมื่ออายุ 30 ปี จึงได้กลับมาปรนนิบัติตอบแทนคุณในวาระสุดท้ายของชีวิตพ่อแม่ ก่อนแม่สิ้นบุญในปี 2507 ได้มอบที่ดิน 8 ไร่ ณ บ้านเชียงควาน เมืองท่าเดื่อ เวียงจันทร์ไว้เป็นมรดก...ปี พ.ศ. 2513 ปู่เหลือได้พัฒนาที่ดินดังกล่าวสร้างเป็น “ปูชนียสถานเทวาลัยอย่างมหึมา” พุทธศาสนิกชนทั้งในภาคพื้นยุโรป และเอเชียเลื่อมใสมาก แต่เมื่อเกิดเหตุวิกฤตในราชอาณาจักรลาวเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่จึงพาลูกศิษย์ข้ามโขงมา และรวมกันจัดตั้งเป็น “พุทธมามกสมาคมจังหวัดหนองคาย” โดยกรมการศาสนารับรองให้ในปี พ.ศ. 2519... ปี พ.ศ. 2521 สานุศิษย์ได้จัดซื้อที่ดินราว 41 ไร่ ในเขตบ้านสามัคคี ต.หาดคำ ถวายให้เป็นที่ตั้งสำนักจวบจนปัจจุบัน ต้นปี พ.ศ.2527 ปู่เหลือถูกใส่ความ และมีผู้ไปแจ้งตำรวจตั้งข้อหาฉกรรจ์ (ซึ่งทางสำนักขอสงวนไว้) ต้องอยู่ในเรือนจำจนถึง ปลายปี 2529 เมื่อออกมาแล้วก็สร้างเทวรูป อีกมากมาย ทั้งเล็กและใหญ่ และทั้งขนาดที่สูงถึง 33 เมตร เมื่อสร้างทั้งพุทธรูปและเทวรูปถึง 209 ปางแล้ว ก็สร้างศาลาแก้วกู่หลังใหม่ โดยรื้อหลังเก่า (พ.ศ.2523 – 2538) ที่ทรุดโทรมลง ขณะก่อสร้างศาลาหลังใหม่ ปู่เหลือก็ล้มป่วย และต่อมาได้เสียชีวิตลงในเดือนสิงหาคม 2539 สานุศิษย์ได้นำผอบ (ผะ-อบ) แก้วใส่ร่างของท่านไว้ ตามความประสงค์ก่อนสิ้นชีวิต”ปู่เหลือ เป็น...นักพรต ผู้ทรงศีล ถือศีล เคร่งวิปัสสนา ...สั่งสานุศิษย์ว่า เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว อย่าฉีดยา อย่าเผา อย่าฝัง ให้ใส่ผอบแก้วไว้ ... ด้วยอัศจรรย์ ร่างไม่ได้เปื่อยเน่า และสานุศิษย์บอกว่า เส้นผมของปู่เหลือ จะเป็นสีดำ และเป็นสีขาว สลับสับ
เปลี่ยน แบบนี้อยู่เรื่อยๆ (ดำก็ดำล้วน ขาวก็ขาวล้วน) ..วันที่ผมไปศาลาแก้วกู่ เป็นวันที่ 26 ต.ค. 2550 (ปู่เหลือสิ้นมาแล้ว ประมาณ 10 ปี) เส้นผมที่ได้เห็นในร่างสงบ ในผอบแก้ว(ไม่ใช่โรงเย็น เป็นผอบครอบแก้วธรรมดา) เป็นเส้นผมสีดำ...ร่างปู่เหลืออยู่ภายในอาคารชั้นที่ 3 ของศาลาแก้วกู่
ซึ่งในแต่ละชั้นมีพระพุทธรูป เก่าแก่ต่างๆ ซึ่งนำมาจากฝั่งลาว เมื่อย้ายที่มาตั้งที่หนองคาย...ชั้น 3 ของอาคารศาลาแก้วกู่ ไหว้ ปู่ เหลือ นักพรตผู้บำเพ็ญเพียร ความดี ก่อตั้งศาลาแก้วกู่ อุทยานเทวาลัย ให้ศาสนายั่งยืน คงความศรัทธา เครื่องเตือนใจให้ ผู้คนสร้างคุณงาม ความดี

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตลาดท่าเสด็จ



ชอปปิงสินค้าอินโดจีน
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในอดีตก่อนสะพานมิตรภาพไทย-ลาวจะเปิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2537 ท่าเสด็จเป็นจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาวที่คึกคัก เป็นย่านการค้าขายชายแดนขนาดใหญ่ มีเรือข้ามฟากไปมาหาสู่กัน ปัจจุบันแม้จุดผ่านแดนถาวรได้ย้ายไปที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแล้ว ย่านท่าเสด็จก็ยังคงคึกคัก เป็นแหล่ง ชอปปิงของนักท่องเที่ยว มีสินค้าราคาถูกจากกลุ่มประเทศอินโดจีนให้เลือกซื้อนอกจากนี้ยังมีร้านอาหาร

ริมแม่น้ำโขง ทั้งอาหารเวียดนามและอาหารปลาจากแม่น้ำโขงให้เลือกชิม และมีเกสต์เฮาส์ราคาถูกบน ถ. ริมโขงใกล้กับตลาดท่าเสด็จให้เลือกพักด้วย จากตลาดท่าเสด็จ นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปเที่ยวชมตึกแถวโบราณสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมบน ถ. มีชัยได้ สิ่งน่าสนใจ ชอปปิงตลาดสินค้าอินโดจีน มีร้านค้าตั้งเรียงรายนับร้อยร้าน สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากจีน เวียดนาม และลาว รวมทั้งของไทยด้วย




สินค้าจากลาวส่วนใหญ่เป็นผ้าทอทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้ายสีสันลวดลายสวยงาม มีหลายราคาตั้งแต่ผืนละไม่กี่สิบบาทไปจนถึงเรือนพัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องเงินลาว ซึ่งต้องมีความชำนาญในการเลือกซื้อ เพราะมีเครื่องเงินจากที่อื่นมาวางจำหน่ายร่วมด้วย ส่วนสินค้าจากจีนจะเป็นพวกเครื่องแก้ว ถ้วยชามกระเบื้อง เครื่องใช้ไฟฟ้า กล้องถ่ายรูป ราคาไม่แพง รวมถึงขนมและอาหารแปรรูปด้วย เช่น ลูกพรุน ลูกหยี รังนก เห็ดหอมแห้ง สมุนไพร ฯลฯ ถ้านิยมสินค้าจากเวียดนาม ก็มีทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องถ้วยชาม ซึ่งจะวางขายปะปนกับสินค้าจีนสำหรับคนที่ชอบกินกาแฟสด มีกาแฟจากลาวซึ่งเป็นแหล่งผลิตกาแฟชั้นดีแห่งหนึ่งของโลกที่หลายประเทศในยุโรปนำไปบรรจุหีบห่อยี่ห้อดังขายในราคาแพง แต่ที่นี่บรรจุขายในถุงพลาสติกธรรมดาด้วยราคาถูกนอกจากนี้ตลาดท่าเสด็จยังเป็นแหล่งขายสมุนไพรทั้งของไทยและลาว บรรจุถุงพร้อมฉลากบอกสรรพคุณ และหากนักท่องเที่ยวอยากได้หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก ที่ผลิตในหนองคายกลับไปเป็นของฝาก สามารถเลือกซื้อที่ตลาดนี้ได้

ประวัติสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

ประตูสู่ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน
- เปิดเวลา 05.00-20.00 น.

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อม จ. หนองคายกับเมืองเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาว และสามารถเดินทางต่อไปยังหลวงพระบางและคำม่วนได้ ทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมต่อไปถึงเวียดนามอีกด้วยบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทยเป็นย่านบริษัทนำเที่ยว ส่วนฝั่งลาวมีร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

ประวัติ
สะพานนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย ลาว ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดสะพานแห่งนี้ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2537 หลังเสร็จพระราชพิธี พระองค์เสด็จฯ ไปประทับแรม ณ หอคำ พระบรมมหาราชวังของเจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ลาวในอดีตเป็นเวลา 1 คืน ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ

สิ่งน่าสนใจ

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
ชาวอีสานและชาวลาวเรียกว่า “ขัวมิดตะพาบ” (ขัวหมายถึงสะพาน) สะพานแห่งนี้กว้าง 15 ม. ยาวประมาณ 1,200 ม. สร้างเชื่อมระหว่างบ้านจอมมณี ต. มีชัย อ. เมืองหนองคาย ไปยังบริเวณท่านาแล้ง แขวงนครเวียงจันทน์ มีทางเดินรถสองช่องทาง ช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับรางรถไฟ เพื่อเตรียมขยายเส้นทางรถไฟจากหนองคายไปลาวนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมบนสะพานได้ โดยมีช่อง ทางขึ้นอยู่ใต้สะพาน ในช่วงเย็นทัศนียภาพแม่น้ำโขงจะสวยงามน่าชมมาก

สะพานไทย-ลาว