วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วัดโพธฺ์ชัย พระอารามหลวง



ประวัติ หลวงพ่อพระใ

หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในล้านช้าง มีตำนานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาที่เล่าสืบต่อกันมาว่าพระธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้างองค์หนึ่ง ร่วมกันสร้างพระพุทธรูประจำพระองค์ขึ้นสามองค์ แล้วขนานพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระเสริม พระสุก และพระใส ตามลำดับ ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของล้านช้างอยู่มาก ด้วยปรากฏว่า พระพุทธรูปทั้งสามองค์ คงเป็นที่เคารพบูชาของชาวล้านช้างอยู่มาก ด้วยปรากฏว่าครั้งใดบ้านเมืองมีคึกสงครามมาประชิดเมือง ชาวเวียงจันทร์จะเชิญพระพุทธรูปทั้งสามองค์ไปรักษา ไว้ยังที่ที่ปลอดภัย และจะนำกลับมาต่อเมื่อการคึกสงบเรียบร้อยแล้ว ดังเช่นเมื่อเมื่อกองทับไทยไปตีเวียงจันทร์ในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าธรรมเทววงศ์ได้เชิญไปไว้ ณ เมืองเชียงคำชั่วคราว และในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อกองทับไทยไปตีเมืองเวียงจันทร์อีกครั้ง ชาวเมืองก็ได้เชิญพระทั้งสามไปซ่อนไว้ยังสถานที่ที่เรียกว่าภูเขาควาย แต่ครั้งนี้กองทับไทยพบเข้าและได้เชิญข้ามฝั่งโขงมาฝั่งไทยระหว่างล่องแพพระสุกพลัดตกจมน้ำไป คงเหลือแต่พระเสริมและพระใสที่มาจนถึงหนองคายนั้นเอง โดยพระเสริมอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย และพระใสอยู่ที่วัดหอก่อง(วัดประดิษฐธรรมคุณ) มาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้เชิญพระเสริมและพระใสลงกรุงเทพ ฯ เพื่อประดิษฐาน ยังวัดประทุมวนาราม ก็ปรากฏเหตุอัศจรรย์ว่าเกวียนที่เชิญ พระใสนั้นหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัยครั้งแล้วครั้งเล่า ชาวเมืองจึงพร้อมใจกันอันเชิญพระใสขึ้นประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริมซึ่งอัญเชิญลงไปกรุงเทพ ฯ หลวงพ่อพระใสจึง ประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหนองคายเป็นที่เคารพสักการะ ของทั้งหนองคายและชาวอีสานทั้งมวลมาจนทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น